การปลูกกล้วยน้ำหว้า และการดูแลรักษา
ต้นกล้วยน้ำหว้า วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้า การขยายพันธุ์กล้วยน้ำหว้า - วิธีปลูกกล้วยน้ำหว้า ถ้าให้ได้ผลดี ควรปลูกต้นฤดูฝน ปลูกในบริเวณที่สามารถรดน้ำได้อย่างทั่วถึง - ขุดหลุมขนาดประมาณ 50x50x50 ซม. - ผสมดินปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมกับปุ๋ยร็อคฟอสเฟส 50 กรัม ให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม - ยกถุงกล้าต้นกล้วยน้ำหว้าวางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย - ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2...
โรคของมะละกอที่เราพบจะเกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัส
โรคใบจุดวงแหวน มะละกอ 1.โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) อาการของโรค เป็นแผลรูปกลมเริ่มจากจุดเล็ก ๆ แล้วขยายใหญ่ขึ้น แผลจะเป็นรอยบุ๋มลงไป ต่อมาบริเวณกลางแผลจะเห็นเป็นวงชั้น ๆ สีน้ำตาลถึงดำ ตามอายุแผล อาจเห็นกลุ่มของสปอร์เชื้อราเป็นสีส้ม สาเหตุ เชื้อรา (Colletotrichum gloeosporioides) การป้องกันกำจัดโรค พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไออาเบน ดาโซล แมนโคเซบก่อนการเก็บเกี่ยวผล 2-3 ครั้ง...
การทำยาฆ่าแมลงจากสมุนไพร
การทำยาฆ่าแมลงจากสมุนไพร ส่วนผสม 1. สะเดา 1 กก. 2. ฟ้าทะลายโจร 1 กก. 3. ข่า 1 กก. 4. สาบเสือ 1 กก. 5. ยาสูบ 1 กก. 6. ตะไคร้หอม 1 กก. 7. ขมิ้น...
ฮวงจุ้ย ในห้องน้ำ สำคัญไฉน???
ฮวงจุ้ยของห้องน้ำถือเป็นอีกที่หนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าจุดอื่น ดังนั้นวันนี้ผมจะขอพูดถึง ฮวงจุ้ยคร่าวๆของห้องน้ำกันนะครับ หากเราต้องการจะจัดห้องน้ำให้ถูกหลักฮวงจุ้ยมีหลักการดังนี้ครับ 1. อย่าวางตำแหน่งห้องน้ำไว้ใกล้ประตูบ้านมากเกินไป เพราะโดยทั่วไปซินแสจะจัดให้ประตูบ้านของท่านรับกับพลังงานที่ดีประจำยุค (ยุคปัจจุบันคือยุคที่ 8 ปี พศ.2547-2567 ในฮวงจุ้ยระบบดาวเหิน หรือ Xuan Kong Flying Star) ดังนั้นหากห้องน้ำมาอยู่ใกล้ประตูหน้าของบ้านมากเกินไป จะเป็นตัวดูดกระแสโชคเข้าที่ห้องน้ำและไหลออกไปทั้งหมด เป็นที่มาของการเสียหายทางด้านโชคลาภและความเจริญรุ่งเรือง หากจำเป็นต้องวางตำแหน่งห้องน้ำไว้ใกล้ประตูหน้าบ้านจริงๆ ก็ขอให้อย่าหันหน้าชนกับประตูหน้าบ้านโดยตรงนะครับ สภาวะของการไหลออกของกระแสจะได้ไม่รุนแรง หรือ หากจำเป็นต้องวางห้องน้ำให้ใกล้ประตูหน้าจริงๆ และยังต้องหันหน้าชนประตู ก็จำเป็นต้องบังคับตัวเองให้ปิดประตูห้องน้ำทุกๆครั้งที่เราไม่ใช้งานครับ...
อยากหาต้นไม้มาไว้ในห้องน้ำ ซื้อต้นอะไรดี?
ต้นแอฟฟริกันไวโอเลต หลายๆท่านที่หลงใหลในเสน่ห์ของต้นไม้ นอกจากจะจัดสวนภายนอกบ้านให้ร่มรื่นน่าอยู่แล้ว ภายในบ้านท่านก็คงอยากได้ความสดชื่นไม่แพ้กับนอกบ้าน ซึ่งวันนี้ผมจะมาพูดถึงการเลือกซื้อต้นไม้เพื่อปลูกในห้องน้ำ อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าสภาพแวดล้อมภายในห้องน้ำ แสงจะน้อยมีความชื้นสูง ดังนั้นเราต้องเลือกพืชที่อยู่กับสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้ ตัวอย่างพืชเช่น พืชกลุ่มเฟิร์น (เฟิร์นข้าหลวง,เฟิร์นข้าหลวงโอซาก้า,เฟิร์นใบมะขาม,เฟิร์นขากระต่าย ฯลฯ ซึ่งเลือกได้ตามความพอใจ) ต่อมาได้แก่พืชกลุ่มพลู เช่น พลูทอง พลูด่าง พลูหินอ่อน พลูงาช้าง เป็นต้น สุดท้ายคือแอฟฟริกันไวโอเลต ที่มีดอกหลายสี เช่นสีม่วง ชมพู ขาว เผื่อหลายๆคนที่ชอบพืชที่มีดอก นอกจากนี้ยังมีพืชอีกหลากหลายชนิดที่สามารถเลี้ยงหรือปลูกในห้องน้ำได้...อย่างไรก็ตามการปลูกพืชในห้องน้ำต้องคำนึงถึงพื้นที่ด้วย ไม่ใช่ดูแค่ความสวบงามเพียงอย่างเดียว......
ดินที่เหมาะสมในการปลูกต้นชวนชม
เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นชวนชม คือต้นไม้ที่มีคนหลากหลายวงการชื่นชอบและปลูกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายครั้งที่มีการตั้งคำถามว่่าดินที่เหมาะสมในการปลูกชวนชมคือดินอะไร? คำตอบที่มักได้ยินเสมอคือ ดินใบก้ามปู แต่ในปัจจุบันดินใบก้ามปูที่ขายเป็นถุงในปัจจุบัน ไม่ค่อยมีคุณภาพ เนื่องจากผู้ที่ขายนำในก้ามปูสดมาตากให้แห้งคลุกกับน้ำ แล้วนำมากรอกถุงขาย โดยเราสังเกตุได้ง่ายๆว่าดินใบก้ามปูนั้นดีหรือไม่ให้ลองจับและขยี้ดู หากใบก้ามปูเละและขาดอย่างง่ายดาย แสดงว่าเป็นดินดินใบก้ามปูที่หมักและพร้อมจะนำไปปลูกชวนชมได้ทันที แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาทเรามีสูตรหมักดินใบก้ามปูดังนี้ นำใบก้ามปูที่ซื้อมาเทรวมเป็นกอง ใช้ EM รดให้ชุ่ม (EM ต้องเจือจาง หากซื้อเป็นขวดที่จำหน่ายตามร้านทั่วไป) เมื่อราดแล้วนำผ้ายางมาคลุม และทิ้งไว้ 7 วัน เมื่อครบ 7 วันให้พลิกใบก้ามปูที่อยู่ด้านบนลงด้านล่าง และคลุมด้วยพลาสติกเช่นเดิมอีก...
ระยะที่เหมาะสมต่อการใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ คุณคงต้องการทราบถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ของคุณ ซึ่งโดยทั่วไปการให้ปุ๋ยที่ถูกต้องคือ หากเป็นปุ๋ยเคมี ให้ใส่ทุก 30 วันโดยไม้กระถางใส่ครั้งละ 1 ช้อนชา หากไม้ใหญ่ลงดิน ใช้ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ต่อ 1 ต้น หากเป็นปุ๋ยออสโมโค้ท(ปุ๋ยละลายช้า ใส่ทุกๆสามเดือน) ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ทุกๆ 14 วัน ในอัตราส่วนข้างต้น หรือการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องคืออ่านสลากปุ๋ยข้างผลิตภัณฑ์จะดีที่สุดการใส่ปุ๋ยมากเกินไป ไม่ช่วยทำให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหารมากขึ้น แต่จะทำให้เราสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและปุ๋ยโดยใช่เหตุ ...