ฤดูหนาว ดูแลพืชผักอย่างไรให้ปลอดโรค?

ปัจจุบัน การปลูกพืชฤดูหนาวของประเทศไทย โดยเฉพาะทางเหนือมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนไทยมีพืชฤดูหนาวทั้งพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรับประทานกันตลอด ทั้งปี นอกจากฤดูหนาวจะทำให้ผลผลิตพืช ผัก และไม้ดอก มีคุณภาพดีแล้ว แต่ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรต้องเฝ้าระวังก็คือ โรคพืชในฤดูหนาว ที่จะส่งผลกระทบด้านราคาความเสียหายของผลผลิต ให้กับเกษตรกรทั่วถึงทุกพื้นที่ทั้งพืชพื้นเมืองและพืชเศรษฐกิจ ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชมาแนะนำเทคนิคการสังเกต การป้องกัน การกำจัดโรคพืชในฤดูหนาวนี้ เพื่อเตรียมตัวรับมือป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากปีหนึ่ง ๆ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักจะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การพยากรณ์และการป้องกันโรคพืชที่จะเกิดขึ้นในอากาศหนาวที่เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิจะเริ่มลดลงทำให้อากาศเย็นขึ้น โดย เฉลี่ยอากาศหนาวในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถแบ่งอุณหภูมิออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิค่อนข้างหนาว ส่วนภาคกลางอุณหภูมิค่อนข้างเย็น

ภาคเหนือในช่วงที่อากาศเย็นลงในฤดูหนาวนั้น สิ่งที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นก็คือพืช ผัก และไม้ดอก ที่จะมีโอกาสเกิดโรค ในผักจะมีโรคราน้ำค้าง ส่วนไม้ดอกก็จะมีปัญหาเรื่องราสนิม อาทิ เบญจมาศตัดดอก และราแป้งในกุหลาบซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะใน อ.พบพระ จ.ตาก ส่วนภาคกลาง ในฤดูหนาวพืชที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นจะพบกับการเกิดโรคราน้ำค้าง โดยพืชที่ประสบกับโรคนี้ได้แก่ พืชจำพวกแตง พืชในตระกูลผักกะหล่ำ องุ่น และถ้าอากาศค่อนข้างเย็นข้าวโพดหวานก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้างเช่นกัน นอกจากนี้กลุ่มนาข้าวก็พบอาการของโรคเน่าคอรวง ที่พบในช่วงที่ความชื้นยังคงมีอยู่ในขณะที่ข้าวออกรวง และช่วงที่ข้าวใกล้แก่ก็อาจมีปัญหาเรื่องเมล็ดด่างได้ด้วย

ดร.ศรีสุข พูนผลกุล นักวิชาการโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ยกตัวอย่างโรคราในพืชต่าง ๆ ให้ฟังว่า

โรคราแป้งในกุหลาบ นั้นมีลักษณะอาการคือ มีเชื้อราสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง เกิดปกคลุมผิวใบ และอาจขยายลุกลามปกคลุมกิ่งและลำต้น ทำให้ใบเหลือง ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลใบและกิ่งแห้ง ส่วนการป้องกันทำโดย
1.เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโนแคป เบโนมิล ไตรฟลอรีน หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทกำมะถันผงโดยเป็นชนิดละลายน้ำได้เพื่อ ฆ่าเชื้อ แต่กำมะถันมีข้อจำกัด เนื่องจากใช้แล้วจะทำให้ใบร่วง เมื่อแตกใบใหม่จะไม่มีโรค ดังนั้นพืชจำพวกใบนิ่มไม่ควรใช้ ถ้าเป็นในผักก็ใช้ได้ในบางชนิดเท่านั้น

โรคราสนิมของเบญจมาศตัดดอก มีลักษณะอาการคือ ด้านบนใบเป็นจุดสีเหลืองอ่อน เมื่อพลิกดูด้านหลังใบจะเป็นตุ่มแผลนูน มีผงสีขาวอมเหลืองและสีเทา ใบมีลักษณะพองหรือบิดเบี้ยว ถ้าเป็นกับดอกตูมจะทำให้กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแห้ง ไม่คลี่บาน ระบาดรุนแรงในฤดูหนาว การป้อง กันและกำจัดคือ
1. แช่ต้นพันธุ์ก่อนปลูกในสาร triadimenol 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร 20 ลิตร หรือ hexaconazole 15% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และพ่นสารดังกล่าวให้ทั่วต้นทุก 7 วันหลังจากปลูก

สุดท้าย ดร.ศรีสุข ได้ฝากถึงเกษตรกรว่า สาเหตุของโรคพืชในฤดูต่าง ๆ นั้น หากป้องกันไว้ก่อนก็จะทำให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นลดน้อยลงได้ เกษตรกรควรกระจายความเสี่ยงด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนหลากหลายชนิดเพื่อลดความ เสี่ยงของการเกิดโรค และปัญหาด้านราคาไปพร้อมกัน นอกจากนั้นเกษตรกรควรจะลดการใช้ปุ๋ยยูเรียโดยหันมาใช้สูตรเสมอ ซึ่งเป็นสูตรที่ดีและเหมาะสมต่อการปลูกพืชผัก เนื่องจากการใช้ยูเรียมากไปจะส่งผลให้พืชอ่อนแอแล้วมีอัตราการเกิดโรคได้ ง่ายขึ้น

สำหรับเกษตรกรที่สนใจข้อมูลด้านโรคพืชชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติม หรือต้องการส่งตัวอย่างพืชให้ตรวจวิเคราะห์สามารถติดต่อได้ที่ คลินิกพืช กรมวิชาการเกษตร เบอร์โทร. 0-2579-9581-5.

1 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ says:

    เป็นบล็อกที่มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ติดตามทุกบทความค่ะ

Leave a Reply

สนับสนุนโดย ทำสวน และลิงค์เพื่อนบ้านที่สนับสนุนโดย จัดสวน